กรมธนารักษ์ แถลง นโยบาย เก็บรายได้ ปี 2564 คาดทำได้หมื่นล้านบาท

กรมธนารักษ์ แถลง นโยบาย เก็บรายได้ ปี 2564 คาดทำได้หมื่นล้านบาท

กรมธนารักษ์ ตั้งเป้าหมาย เก็บรายได้ เข้ารัฐประมาณ 10,000 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2564 ได้ดำเนินการตาม นโยบาย ของรัฐบาล โดยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง และนายจุมพล ริมสาคร รองปลัดกระทรวงการคลัง ได้มอบหมายให้กรมธนารักษ์มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานเพื่อเก็บรายได้เข้าประเทศตามเป้าที่ตั้งไว้

การดำเนินการโครงการ “ที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามา-ธนารักษ์” บนที่ราชพัสดุ 

จังหวัดสมุทรปราการ กรมธนารักษ์ร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งโครงการดังกล่าว กรมธนารักษ์ได้ตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจผ่านโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนที่ราชพัสดุที่มีศักยภาพเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศรวมทั้งให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยจะดำเนินการจับสลากบัญชีรายชื่อผู้ได้รับสิทธิและบัญชีรายชื่อสำรอง ในวันที่ 15 มกราคม 2564 ณ กรมธนารักษ์ และจะดำเนินการก่อสร้างประมาณเดือนเมษายน 2564 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2565

กรมธนารักษ์เตรียมขยายการก่อสร้างที่อยู่อาศัยของข้าราชการพลเรือนทุกประเภทบนที่ราชพัสดุ ไม่ต่ำกว่า 1 พัน ยูนิต สำหรับพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ แปลงพระโขนง และแปลงยานนาวา สำหรับในจังหวัดต่างๆ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย นครนายก อุบลราชธานี อุดรธานี สงขลา สุราษฎร์ธานี ยะลา ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ นนทบุรี นครราชสีมา และจันทบุรี ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านที่อยู่อาศัยให้กับบุคลากรดังกล่าวด้วย

ดำเนินการสำรวจบ้านทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่อยู่ในพื้นที่ของส่วนราชการ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 95 แห่ง ทั่วประเทศ มาทำประโยชน์ในเชิงพาณิชย์โดยอาจให้เอกชนเข้ามาประมูลเพื่อทำประโยชน์ ตลอดจนเพื่อการท่องเที่ยวในชุมชนนั้นๆ และยังช่วยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ โดยต้นเดือนกุมภาพันธ์จะดำเนินการเปิดประมูลบ้านขุนพิทักษ์บริหาร หรือบ้านเขียว อยุธยา และบ้านพายัพ ซอยสามเสน 5 กรุงเทพมหานคร

โครงการ “เปลี่ยนชุมชนเป็นห้องประชุมในที่ราชพัสดุ” ก็ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน ซึ่งเมื่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 เบาบางลงแล้ว กรมธนารักษ์จะสานต่อโครงการดังกล่าวเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน และช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจฐานรากในชุมชนต่างๆ แข็งแกร่งมากขึ้น โดยการสร้างโอกาสฟื้นฟูเศรษฐกิจในพื้นที่ให้แก่ผู้ประกอบการในชุมชน และประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจะก่อให้เกิดการสร้างรายได้ในทุกระดับ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการจัดหาที่ราชพัสดุให้กับรัฐวิสาหกิจชุมชน และกองทุนหมู่บ้านในชุมชนเช่าเพื่อให้มีพื้นที่ในการสร้างรายได้ สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจฐานราก และคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน

เร่งการเปิดพิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ ขอนแก่น 

เพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการและการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้และการท่องเที่ยว (Land Mark) โดยจะเปิดให้เข้าชมได้ในเดือนสิงหาคม 2564 ซึ่งเป็นการเผยแพร่ทรัพย์สินมีค่าของรัฐสู่ประชาชนและผู้สนใจ ด้วยภารกิจของกรมธนารักษ์ มีเป้าประสงค์ที่จะดูแล บริหารจัดการที่ราชพัสดุให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน และสังคมอย่างเป็นระบบ ก่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด โดยในปีงบประมาณ 2564 กรมธนารักษ์จะนำที่ราชพัสดุทั้งหมด 12.6 ล้านไร่ ซึ่งอยู่ในการครอบครองดูแลของหน่วยงานราชการต่างๆ และกรมธนารักษ์บริหารจัดการเพียง 4% โดยจะนำที่ราชพัสดุมาบริหารจัดการเองเพิ่มขึ้นเป็น 10% ทำให้กรมธนารักษ์มีรายได้จากค่าเช่าที่ดินเพิ่มขึ้นและจะเป็นผลดีที่ทำให้กรมธนารักษ์จัดเก็บรายได้เข้ารัฐได้สูงขึ้นอีกด้วย อธิบดีกรมธนารักษ์กล่าวในที่สุด

สำหรับโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ ก็จะเร่งผลักดันให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม พร้อมที่จะเจรจาเมื่อเกิดปัญหาติดขัดใดๆ การบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และแก้ไขปัญหาการบุกรุกในที่ดินราชพัสดุ รวมทั้งการบริหารจัดการงานในภารกิจที่จะสามารถสร้างประโยชน์ในเชิงสังคมด้วย

วันนี้ (6 มกราคม 2564) ณ กรมธนารักษ์ นายยุทธนา หยิมการุณ อธิบดีกรมธนารักษ์ และผู้บริหารกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ ที่ผ่านมา กรมธนารักษ์ได้ดำเนินโครงการของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในสังคม เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตด้านที่อยู่อาศัย และที่ทำกินโดยดำเนินการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุด้วยการรับรองสิทธิด้วยการจัดให้เช่าที่ราชพัสดุภายใต้โครงการ “ธนารักษ์ประชารัฐ” ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในสังคมมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และสามารถแก้ปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐได้ด้วย

ตลอดจนเปิดตลาดชุมชนในพื้นที่แต่ละจังหวัดไปในคราวเดียวกันผ่านโครงการ “เปลี่ยนชุมชนเป็นห้องประชุมในที่ราชพัสดุ” โดยการสร้างโอกาสฟื้นฟูเศรษฐกิจในพื้นที่ให้แก่ผู้ประกอบการในชุมชน และประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจะก่อให้เกิดการสร้างรายได้ในทุกระดับ

“พลเอกประยุทธ์ และนายอนุทิน กีดกัน และไม่อนุญาตภาคเอกชนในการนำเข้าวัคซีนทางเลือก ในขณะที่ เมื่อปลายปี 2563 ถึงต้นปี 2564 โดยสมาคมโรงพยาบาลเอกชน หอการค้าไทย 40 บริษัทซีอีโอ และสมาคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เรียกร้องรัฐบาล เพื่อขอนำเข้าวัคซีนทางเลือกภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลมาโดยตลอด แต่ไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาล โดยใช้สถานการณ์ฉุกเฉินเป็นข้ออ้าง แม้ภายหลังจะต้านกระแสสังคมไม่ไหวก็ตาม จึงทำทีเหมือนว่าจะเปิดโอกาสให้เอกชนได้นำเข้าวัคซีนได้เอง แต่ก็ติดปัญหาอุปสรรคมากมาย

แนะนำ : รีวิวเครื่องใช้ไฟฟ้า | รีวิวอาหารญี่ปุ่น| รีวิวที่เที่ยว | ดาราเอวี